นาธาน โอมาน "The Shattered Glass" ภาคภาษาไทย

นาธาน โอมาน

ผมเองไม่ค่อยคุ้นเคยนักกับนักร้องชื่อต่างประเทศคนนี้
ด้วยไม่ค่อยรู้จักกับเพลงวัยรุ่นเท่าไหร่
รู้จักตัวตนของเขาผ่านสื่อต่างๆทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์
ภาพพจน์ของเขาที่ผมรู้จักเป็นเด็กหนุ่มลูกครึ่งนิสัยดี
พูดจาไพเราะ มีความสามารถพิเศษหลายด้าน
รักธรรมชาติและเด็กๆ ไม่ค่อยมีข่าวคาวๆมากนัก

เพิ่งมาสนใจข่าวคราวตอนหลังๆของเขาผ่านสื่อทางอินเตอร์เน้ต
เพราะว่าเขามาแถลงข่าวว่าไปเล่นหนังฮอลลีวูดกับผู้กำกับชื่อดัง
และมีดาราดังบรูซ วิลลิซร่วมแสดงด้วย น่าทึ่งจริงๆ

แต่แล้วในโลกไซเบอร์ก็ไม่มีความลับอีกต่อไป
จากความสงสัยใคร่รู้ของคนก็มีการสืบสาวราวเรื่อง
โดยมีต้นตอจากความสงสัยในกระทู้ของเว็บพันทิปนี่เอง
ก็เกิดนักสืบไซเบอร์ขึ้นมาตีแผ่ความจริงให้ได้อ่านกัน


เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้นคงมีคำตอบอยู่ในใจกันแล้ว
เรื่องของคุณนาธาน ทำให้ผมนึกถึงหนังเรื่องหนึ่ง
ของคนที่โกหกแล้วหาทางลงไม่ได้
"The Shattered Glass"
หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของสตีเฟ่น กลาส นักเขียนดาวรุ่งอายุน้อย
ของนิตยสาร เดอะรีพับลิค
ที่นั่งเทียนเขียนข่าวจากจินตนาการ จนมีชื่อเสียง
ข่าวที่เขาได้มามักจะมีลักษณะแหลมคม เจาะลึก ตบด้วยอารมณ์ขัน
คนในกองบรรณาธิการส่วนใหญ่ล้วนรักเขา เพราะนิสัยน่ารักของเขา
แน่นอนว่าข่าวดีดี ต้องมีคนถูกตำหนิว่าทำไมพลาดข่าวแบบนี้ไปได้

คนที่ถูกตำหนิก็ย่อมไม่พอใจว่าทำไมกูพลาดข่าวนี้ไป
ก็เลยไปสืบดูว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไร
ทีนี้ก็เลยเจอเรื่องสนุกๆขึ้นมาทันที


Image


10 พฤษภาคม 1998 นิตยสารออนไลน์ ฟอร์บส์ ได้ลงบทความของ อาดัม เพเนนเบิร์ก

ว่าด้วยเรื่องของ สตีเฟ่น กลาส นักเขียนดาวรุ่งของนิตยสาร เดอะ นิว รีพับลิค

ที่นั่งเทียนเขียนบทความ “สวรรค์นักแฮค” (Hack Heaven) ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนเดียวกัน

“สวรรค์นักแฮค” เป็นเรื่องราวของ เอียน เรสติล อัจฉริยะคอมพิวเตอร์วัย 15 ปี

ฉายา “เจ้าหนูไบโอนิคส์” เขาเก่งกาจถึงขนาดสามารถเจาะฐานข้อมูลของบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่อย่างจูคท์ ไมโครนิคส์ได้

จูคท์คิดว่าคงไม่สามารถหยุดเด็กเซียนอย่างเรสติลได้ง่าย ๆ จึงตกลงว่าจ้างเขาเป็นที่ปรึกษา และนัดเจอกันในการประชุมแฮคเกอร์

ปรากฏว่าเรสติลเรียกร้องเงื่อนไขแปลก ๆ มากมายจากทางจูคท์ อาทิ รถสปอร์ต 1คัน ท่องดิสนีย์เวิร์ลด์ การ์ตูนเอ็กซ์เมนฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก สมาชิกเพลย์บอยและเพนท์เฮ้าส์ตลอดชีพ

ที่แปลกกว่าก็คือจูคท์ยอมทำตามเงื่อนไขทั้งหมดนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ 21 รัฐในอเมริกาออกบัญญัติความปลอดภัยด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น เพื่อเอาผิดบริษัทและนักแฮคที่สมยอมกัน

แต่ความจริงก็คือ

นี่เป็นเพียงการโกหกคำโตของกลาส เด็กหนุ่มนามว่าเอียน เรสติลไม่มีตัวตน

ไม่มีบริษัทจูคท์ ไมโครนิคส์ ไม่มีการประชุมแฮคเกอร์

ไม่มีบัญญัติความปลอดภัยด้านคอมพิวเตอร์

และไม่มีแหล่งข่าวทั้งหลายแหล่ที่กลาสอ้างถึงในบทความแม้แต่รายเดียว ไม่ผิดจากที่เพเนนเบิร์กกล่าวว่า

“อย่างเดียวที่เป็นเรื่องจริงในบทความนี้คือ รัฐหนึ่งของอเมริกาที่ชื่อเนวาด้า

สิ่งที่ผมคิดถึงหนังเรื่องนี้เมื่อได้อ่านเรื่องราวของนาธานคือ
จินตนาการของคน และวิธีเอาตัวรอดเมื่อถูกจับโกหกได้

ทั้งกลาสและนาธานทำอย่างเดียวกันคือสร้างหลักฐานเท็จ
เรียกความสงสารและไม่ยอมรับความจริง

น่าสงสารที่ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว
และแน่นอนว่าในเมื่อคนตามสืบกัดไม่ปล่อย

จุดจบเป็นอย่างไรคงไม่ต้องเดา...




-----------------------------------------

อ่านต่อ

บทสรุปของ "นาธาน โอมาน" บทเรียนครั้งสำคัญของวงการบันเทิงไทย

จาก "สมพงษ์ เลือดทหาร" สู่ "น้องอุ้ม เมืองคานส์" และ "นาธาน โอมาน"?

"Shattered Glass" Base on true story

2 ความคิดเห็น:

  1. 55555+++

    แหล่มเลย กำลังสงสัย เปิดอ่านเดือนก่อนพี่เขียนไรมั่ง เจอข้อมูลครบครันดีจริง พี่ชายครับ จริงๆผมคิดจะทำ
    Magazine on blog
    ตอนแรกว่าจะเขียนบทความเองทั้งหมด แต่คงได้แค่ฝัน

    ผมจะทำที่บล็อคผมเป็นเหมือนหน้าหลัก และสารบัญของสิ่งที่ผมเรียกว่าฺBlogazine(Magazine on Blog)

    ขอทำสารบัญลิงค์มาบทความพี่ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของJibBlogazine
    ได้มะครับ

    http://jibblogazine.blogspot.com

    ตอบลบ
  2. ไม่ได้เข้ามาอ่านเลย
    ขอบคุณครับที่สนใจ
    การได้ทำสิ่งที่ตัวเองสนใจและมีความสุขกับมัน
    ถ้าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นผมก็ยินดีครับ
    เชิญเลยครับ :)

    ตอบลบ